ครั้งก่อน เราได้ขอข้อมูลจากทีมงานว่า ทำไมเรียกหัวภูขาด ได้รับคำตอบว่า ชื่อนี้เรียกตามลักษณะของภูมิประเทศ ที่ภูเขาลูกนี้(ลูกที่อยู่ตรงข้ามกับหลังแป)ทอดตัวเป็นแนวยาวแล้วเหมือนถูกแรงกระแทกให้ทั้งสองข้างแตกและขาดออกจากกัน จึงได้ชื่อตามนั้น
ทุกครั้งที่ผมเข้ามาสัมผัสที่"ทุ่งดอกบัวสวรรค์" แห่งนี้ ผมนึกถึงกาพย์พรพไชยสุริยา ที่แต่งโดยท่าน"สุนทรภู" ที่บรรยาย ลักษณะของธรรมชาติที่กินใจว่า
บรรยากาศ ชวนฝันจริงๆ
ทุ่งดอกบัวสวรรค์ ที่วนอุทยานเขาสวนกวาง(คนละที่กับอุทยานสัตว์ป่าอีสานตอนบน) ความเป็นธรรมชาติที่เหลืออยู่ และจะอนุรักษ์ไว้สืบไป |
บ่ายวันศุกร์ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ วันที่แดด"เปรี้ยงๆ" พวกเรา ๔ คน ได้แก่ ท่านพ่อพรามณ์"เรืองชัย โสภะสุนทร" ท่านวันชัย รัตนแสง (เพื่อนป่าเจ้าเก่า ผู้มีความรู้เรื่องต้นไม้ค่อนข้างดี) อ.ประเสริฐ ศรีสม พร้อมกับผม(ครูคำมี)ผู้จุดประเด็น"ทุ่งดอกกระเจียว" นำ Cherokee คันแกร่ง ไปจอดไว้ที่หลังแป และเริ่ม Start มุ่งตรงไปที่หัวภูขาดอีกรอบ(สำหรับผม)
ใน"ตามหาดอกกระเจียว ๒" ได้ให้ข้อมูลแล้วไว้บ้างแล้วเกี่ยวชือสถานที่และระยะทาง วันนี้ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมนิดหนึ่งว่าเส้นทางเป็นอย่างไรอย่างไร ขึ้นเขาลงห้วยหรือเปล่า
ถ้าเราเริ่มต้น ที่หลุมดิน(ห่างจากหลังแปไปทางทิศตะวันออก ประมาณ ๔๐๐ เมตร) ไปถึงหัวภูขาด ก็ประมาณ ๕๐๐ เมตร ถึง"หัวภูขาด" หมายความว่าเราถึงประตูทางเข้าของแหล่งที่หมายแล้วละ แต่เราอาจยังไม่พบ"บัวสวรรค์"(เปลี่ยนชื่อตามที่ชาวบ้านเรียกขานกัน) แต่สำหรับคนที่รักธรรมชาติที่ชอบดูภูมิทัศน์ที่สวยงามแปลกตาแล้ว มันคุ้มค่าจริงๆ จากประตูทางเข้า"แดน(ดอกบัว)สวรรค์" ไปถึงบ๋าหนามแท่งน้อยก็อีกประมาณ ๖๐๐ เมตร เดินเพลินๆเก็บเห็ดเพลินๆ แป๊บเดียวก็ถึงแล้ว...ดูแผนที่
คณะของเรา ก้าวข้ามขอบหลุมดิน หายตัวเข้าไปในป่า ชั่วอึดใจก็ถึง"พลานหิน" จากพลานหินเลี้ยวซ้ายขวาแทรกลงไปตามซอกหิน ก็จะพบกับพลานหิน"ลื่น"ที่มีน้ำไหลผ่าน ต้องระวังตัวนิดหนึ่งใครลื่นล้มก็ทำให้ทั้งคณะหมดสนุก...จากนั้นก็เดินขึ้นลงบ้างตามเนินดินสลับกับเนินหิน ประมาณ ๘๐ เมตร ก็ถึง"หัวภูขาด" แล้วครั้งก่อน เราได้ขอข้อมูลจากทีมงานว่า ทำไมเรียกหัวภูขาด ได้รับคำตอบว่า ชื่อนี้เรียกตามลักษณะของภูมิประเทศ ที่ภูเขาลูกนี้(ลูกที่อยู่ตรงข้ามกับหลังแป)ทอดตัวเป็นแนวยาวแล้วเหมือนถูกแรงกระแทกให้ทั้งสองข้างแตกและขาดออกจากกัน จึงได้ชื่อตามนั้น
ทุกครั้งที่ผมเข้ามาสัมผัสที่"ทุ่งดอกบัวสวรรค์" แห่งนี้ ผมนึกถึงกาพย์พรพไชยสุริยา ที่แต่งโดยท่าน"สุนทรภู" ที่บรรยาย ลักษณะของธรรมชาติที่กินใจว่า
" เห็นกวางย่างเยื้องชำเลืองเดิน เหมือนอย่างนางเชิญ
พระแสงสำอางข้างเคียง
เขาสูงฝูงหสงส์ลงเรียง เริงร้องซ้องเสียง
สำเนียงน่าฟังวังเวง
กลางไพรไก่ขันบรรเลง ฟังเสียงเพียงเพลง
ซอเจ้งจำเรียงเวียงวัง
ยูงทองร้องกระโต้งโห่งดัง เสียงฆ้องกลองระฆัง
แตรสังข์กังสดาลขานเสียง..."
พระแสงสำอางข้างเคียง
เขาสูงฝูงหสงส์ลงเรียง เริงร้องซ้องเสียง
สำเนียงน่าฟังวังเวง
กลางไพรไก่ขันบรรเลง ฟังเสียงเพียงเพลง
ซอเจ้งจำเรียงเวียงวัง
ยูงทองร้องกระโต้งโห่งดัง เสียงฆ้องกลองระฆัง
แตรสังข์กังสดาลขานเสียง..."
บรรยากาศ ชวนฝันจริงๆ
เมื่อก้าวข้ามหัวภูขาด ก็เหมือนหลุดเข้าไปใน"แดนสวรรค์" คณะของผม ต่างตลึงกับสิ่งที่พบเห็นที่ทุ่งแห่งนี้ เสมือนปูลาดด้วยพรมสีเขียว แล้วนำพันธ์ไม้ที่แปลกตามมาตกแต่งไว้บนผืนพรม มองขึ้นไปบนท้องฟ้าก็พบมวลเมฆขาวที่ลอยตัวอยู่ในท้องฟ้าสีฟ้าสด ซ้ายมือเหนือศีรษะสูงขึ้นไปมีโขดหินสลับกับต้นไม้รูปแปลกตานานาชนิด มองตามแนวลาดเอียงของป่าเพ็กสีเขียวสดไปทางชวามือด้านทิศ ตะออก ก็จะพบกับแนวเขาอีกลูกที่เป็นฉากกั้นและกำหนดขอบเขตทุ่งบัวสวรรค์เอาไว้ ทุกก้าวย่างที่เราเดินไปตามเส้นทาง"คนป่า"ท้องทุ่งสีเขียวแห่งนี้ก็จะค่อยๆเปิดตัวให้เห็นพื้นที่กว้างออกไปเรื่อย...ไปจนถึง"ทุ่งบัวสวรรค์"
ผมเดาใจสมาชิกที่ร่วมเดินทางว่า คงอึดอัดพอสมควรที่ยังไม่เห็น"ดอกบัวสรรค์" ...และแล้ว...ก่อนที่จะข้ามเนินแรกไป ไปสู่เนินที่สอง สายตาของผมก็สัมผัสกับสิ่งหนึ่งเข้า ผมหันกลับมาเล่น"มุข"กับคณะโดยค่อยกระซิบว่า "ค่อยเดิน อย่างส่งเสียง...อย่างส่งเสียงดัง มันจะหนีไปก่อน"...ผมต้องขอโทษที่เล่นมุขที่ค่อนข้างแรงกับคณะ...ในที่สุดผมก็พูดเสียงดังขึ้นพร้อมกับชี้มือไปข้างหน้าว่า"โน่น เห็นไหมทุ่งบัวสวรรค์ ผมกลัวว่าถ้าส่งเสียงดังมันจะหนีไปก่อน" ....คำด่าของคณะ"..@*&%EAQLO????????....(ไอ้บ้า)"
ที่ทุ่งบัวสรรค์ ผมมอบกล้องให้ อ.วันชัย คนที่ผม confirm ว่า ถ่ายภาพได้ดีที่สุด น่าเสียดายคณะของพวกเรามีแต่"นายบาป" ไม่มี"นางแบบ"สักคนไม่กล้าเอาแก้มไปแนบกับดอกบัวสวรรค์ที่สวยสด... พวกเราเลือกถ่ายภาพมุมที่ชอบใจ ดอกที่สวยที่สุด ขอเรียนนิดหนึ่งว่า ทุ่งบัวสวรรค์ที่นี้ ขึ้นอยู่เองตามธรรมชาติ ธรรมชาติตกแต่งและจัดระเบียบด้วยตัวเขาเอง อาจจะไม่ลานตาเหมือนชัยภูมิที่คนเข้าไปจัดการ...บอกได้คำเดียวและหลายๆครั้งว่า "บริสุทธิ์"
ผม เดินสำรวจ อ.ประเสริฐ เดินดูทั่วๆ แล้วก็ถ่ายไป เรื่อย ๆ อ.เรืองชัย ใช้โทรศัพท์มือถือ ถ่ายเท่าที่จะถ่ายได้ สำหรับ อ.วันชัยก็ก้มๆเงยๆ และเป่าน้ำเสียงดังฟู่ๆ เก็บภาพไปทีละดอกสองดอก...พอสมควรก็เดิทางกลับ
เราไม่ได้อะไรติดไม้ติดมือออกมานอกจากภาพถ่ายและความทรงจำ เพราะเราพอใจที่จะให้ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่นั่นตลอดไป...ให้เป็นสมบัติทางธรรมชาติอยู่คู่..."วนอุทยานแห่งชาติเขาสวนกวาง" สืบไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น