วันนี้วันอาทิตย์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔ หลังจากฟ้าเทฝนลงมา ๒ ห่า ใหญ่ๆ อดใจไม่อยู่ต้องขึ้นไปดูน้ำที่อ่างเก็บน้ำเขาสวนกวางให้ได้ ...อีกประการหนึ่งก็อยากขึ้นไปประเมินความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า"เขาสวนกวาง" ว่ามีของป่าและเห็ดป่ามากน้อยเพียงใด บางครั้งก็ต้องวัดด้วยจำนวนรถที่จอซุ่มซ่อนไว้ในป่าเป็นระยะๆ เป็นจุดๆ ว่ามีมากน้อยเพียงใด
ประมาณเดือน "มีนา-เมษา" ในช่วงที่ไฟป่าค่อนข้างเกิดขึ้นถี่ "สุวรรณ คำดีเขียว" สมาชิกคนหนึ่งของ หน่วยส่งเสริมการดับไฟป่า ที่ร่วมกับคณะไปดับไฟป่า สุวรรณบอกผมว่า "อาจารย์ ครับ หลังจากที่มีอ่างเก็บน้ำเขาสวนกวาง น้ำไปไหลซึมซับลงไปด้านล่างเกิดเป็นแอ่งน้ำ และบึงน้ำด้านล่าง ทำให้"ป่าบอน"ที่มีอยู่เดิมงอกงามมาก เป็นป่าบอนที่ใหญ่และสมบูรณ์มาก...ผมจะพาไปดูสักวัน"...นั่นเป็นสาเหตุที่วันนี้ เราอยากกินแกงบอน...และต้องเป็นบอนที่เราเห็นมากับตา...และเด็ดมาด้วยมือ...เชิญดูภาพป่าบอน๒ ภาพนี้ไปก่อน ครับ
สภาพป่าบอนตามบึงน้ำเล็กๆ |
อีกด้านหนึ่งของบึงบอน |
"สุวรรณ คำดีเขียว" ให้ข้อมูลว่าที่ตั้งของป่าบอนห่างจากศูนย์ส่งเสริมการดับไฟป่าแบบไปกลับประมาณ ๒ ชั่วโมง พวกเรา ๓ คน คือ ผม (ครูคำมี) คุณติ่ง(สัมพันธ์ นาพรหม) และ คุณโต้ง(สุวรรณ คำดีเขียว) เตรียมข้าวของที่จำเป็นแล้วก็ออกเดินทางไปตามแนวกันไฟที่คณะทำไว้ มุ่งไปที่ป่าดิบแล้ง ผ่านหุบ"ปู่ตา" ไปยังจุดหมายคือ บึงบอน ด้านล่าง
สิ่งแรกที่พบระหว่างทาง คือ "ชัน"หรือที่ชาวอีสานเรียกว่า "ขี้ซี" ซึ่งเป็นยางไม้ที่ไหลออกมาจาก"ต้นรัง"แล้วแห้งกรอบเป็นสีครีมกลิ่นค่อนข้างฉุน...ภาพที่ถ่ายจะถ่ายให้เห็นสมาชิกเราเดินตามทางไปโดยมีต้นไม้ป่า(วัยรุ่น)ขึ้นอยู่สองข้างทาง
สิ่งแรกที่พบระหว่างทาง คือ "ชัน"หรือที่ชาวอีสานเรียกว่า "ขี้ซี" ซึ่งเป็นยางไม้ที่ไหลออกมาจาก"ต้นรัง"แล้วแห้งกรอบเป็นสีครีมกลิ่นค่อนข้างฉุน...ภาพที่ถ่ายจะถ่ายให้เห็นสมาชิกเราเดินตามทางไปโดยมีต้นไม้ป่า(วัยรุ่น)ขึ้นอยู่สองข้างทาง
ป่าไม้วัยรุ่นเหล่านี้ เป็นผลพลอยได้จากการประกาศปิดป่า แล้วอพยพผู้บุกรุกทั้งหมดออกจากป่า ให้ยุติกิจกรรมทั้งหมดบนภูเขา เช่น การ"เผาถ่าน"การตัดไม้ทำลายป่า ตลอดจนการจับจองที่ และแผ้วถางป่าทำการเกษตร การเข้ามาครอบครอง และการเผาถ่านขายทำให้ประชากรไม้หายไปจากป่าแห่งนี้เป็นจำนวนมาก ถ้าสังเกตให้ดีจะพบเตาถ่านปรากฏให้เห็นเป็นระยะ เราได้ข้อมูลว่าที่ภูเขาแห่งนี้มี"เตาถ่าน"ร้าง ไม่น้อยกว่า ๑.๐๐๐ แห่ง
ในระหว่างทาง ถ้าเราสังเกตให้ดี เราจะพบเห็นซากของเตาถ่านแทรกอยู่ในป่าเป็นระยะๆ อย่างในภาพนี้ จะเป็นเตาถ่านที่ค่อนข้างใหญ่ บ่งบอกว่าใช้ไม้มาก และมีการเผาซ้ำกันหลายครั้ง
สุวรรณ ชี้ให้ดู้ซากเตาถ่าน |
เมื่อมีการปิดป่า ในช่วงแรกก็ยังมีบุคคลที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ลักลอบเข้ามาตัดไม้และ เผาถ่านอยู่ค่อนข้างต่อเนื่อง ทางราชการ(กรมป่าไม้) มองว่า ลำพังเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งมีจำนวนน้อย คงไม่สามารถฟื้นฟูรักษาสภาพป่าผืนนี้ให้กลับคืนสภาพปกติได้ จึงจัดให้มีการคัดเลือก"ราษฎร์"ในพื้นที่เข้ารับการฝึกอบรม "รสทป."ซึ่งก็คือราษฎร์อาสาสมัครพิทักษ์ป่าเพื่อรักษาชีวิต เกิดเป็นกลุ่มราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่าฯเขาสวนกวาง ที่มีสมาชิก ประมาณ ๘๐ คน กลุ่มราษฎร์เหล่านี้ ทำหน้าที่พิทักษ์ป่าที่มีเน้อที่ถึง สองหมื่นไร่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ป่าแห่งนี้ มีต้นไม้หนาตาขึ้น แม้จะเป็นเพียงต้นไม้ระยะ "วัยรุ่นเด็กๆ" ก็ตาม แต่สิ่งที่เป็นผลพวงติดตามมาอย่างหนึ่งก็คือ มีอาหารป่าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอาหารประเภทเห็ด ซึ่งเป็นจริงตามที่บรรยาย เพราะหลังจากที่เราเดินแวะเข้าป่าข้างเส้นทางแนวกันไฟ เราก็พบเห็ด"ผึ้งขม" ชนิดเห็ดผึ้ง"แย้" กลุ่มหนึ่งมีสมาชิกไม่น้อยกว่า ๑๐ ดอกเรา วันนั้นเราได้อาหารเท่ยงแล้ว ๑ อย่าง...๒ ภาพด้านล่างนี้เป็นภาพเห็ดรังผึ้ง
พวกเรามุ่งหน้าเข้าสู่ป่าดิบแล้ง ...เท่าที่ผมสังเกตดูป่าดิบแล้งที่ภูเขาสวนกวาง จะมีลักษณะของภูมิประเทศที่ตั้งอยู่ตามหน้าผาที่พังทลายลงและเกิดพื้นที่ลาดเอียงลงไปยังพื้นล่าง ผืนดินตรงนี้จะเกิดมีพืชดิบแล้งหลายชนิดทั้งเป็นลำต้นไม้ขนาดใหญ่ เป็นเถาวัลย์ล้วนแต่เป็นสมุนไพร และต้นไม้เล็กในระดับล่าง และมีพืชจำพวกเฟิร์นขึ้นอยู่เต็มไปหมด...เราปีนหน้าผาลงไปนิดเดียว เราก็พบเพื่อนร่วมโลกตัวหนึ่งนอนขดอยู่บนแอ่งต้นไม้...หลับสนิท ไม่สนใจใครเลย สุวรรณบอกว่า เขาคือ งูแมวเซา ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีพิษมาก นักเดินป่าก็ต้องระวังเหมือนกัน...พลาดมาก็เป็นเรื่อง...ดูภาพของมันได้ ตามภาพด้านล่างนี้ ครับ
พวกเราออกแรงเทน้ำหนักลงไปตามที่ลาดชันของป่าดิบแล้ง คนที่ไม่ชำนาญและมีอายุมากอย่างผม(ครูคำมี)ก็ต้องเซฟต้วเองให้มากที่สุด ไม่มั่นใจทั้งมือและเท้าก็จะไม่ก้าวเดิน เมื่อกล่าวถึงพืชในป่าดิบแล้งเราพบพืชแปลกๆหลายชนิด ตัวอย่างเช่น เมื่อ ๒ ปีที่แล้ว เราพบพืชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะแปลก คือมีขางอกออกมา เมื่อเลื้อยไปโดนพืชนิดอื่น จะฝังขา(เหมือนกิ้งกือ) ลงไปที่ไม้ชนิดนั้น เราขอเรียกว่า "พญาร้อยขา" วันนี้ เรามาพบที่นี่อีก แต่ดูค่อนข้างมีอายุมาก.แต่ยืนยันว่าเป็นชนิดเดียวกัน ..เราใช้เวลาสไลด์ตัวเองลงจากหน้าผาป่าดิบประมาณ ๑๐ นาที ก็ลงมาถึงพื้นราบซึ่งต้นปีนี้บรเวณนี้เกิดไฟป่าเผาผลาญกินบริเวณกว้าง แต่มาบัดนี้ไม่เหลือซากเถ้าถ่านสีดำให้เห็น ฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องทำให้ป่าคืนสีเขียวให้ตัวเองได้อย่างรวดเร็วและน่าอัศจรรย์ "อีโก่ย" หรือเถาองุ่นป่า ผลิยอดทอดเถาอวดสีสดเร้าใจให้เราอยากเก็บภาพไว้ พืชนิดนี้เริ่มหายากและมีแนวโน้มที่จะหายไปจากป่านี้ ดูภาพพืชประหลาดและ อีโก่ยตามภาพด้านล่างนี้
ไม้ในป่า มีการปรับตัวเพื่อขยายและรักษาพ้นธุ์ตามธรรมชาติ มีการงอกของเมล็ดทุกปี แต่ละปีเหลือรอดเพียง ๔-๕ เปอร์เซนต์ ก็ถือว่าประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์แล้ว...ภาพข้างล่างเป็นภาพ ลูก"มะค่า" กำลังงอกขึ้นใต้ร่มไม้แม่ของตัวเตนเอง...เราสำรวจดูพบว่ามีไม่น้อยกว่า ๕๐ ต้น....เฉกเช่นเดียวกันกับ พืชตระกูล "บุก" ที่กำลังทำหน้าที่เช่นเดียวกัน ดูภาพลูกมะค่าและ"อีบุก"ได้ตามภาพด้านล่าง ครับ...
พวกเรามุ่งหน้าเข้าสู่ป่าดิบแล้ง ...เท่าที่ผมสังเกตดูป่าดิบแล้งที่ภูเขาสวนกวาง จะมีลักษณะของภูมิประเทศที่ตั้งอยู่ตามหน้าผาที่พังทลายลงและเกิดพื้นที่ลาดเอียงลงไปยังพื้นล่าง ผืนดินตรงนี้จะเกิดมีพืชดิบแล้งหลายชนิดทั้งเป็นลำต้นไม้ขนาดใหญ่ เป็นเถาวัลย์ล้วนแต่เป็นสมุนไพร และต้นไม้เล็กในระดับล่าง และมีพืชจำพวกเฟิร์นขึ้นอยู่เต็มไปหมด...เราปีนหน้าผาลงไปนิดเดียว เราก็พบเพื่อนร่วมโลกตัวหนึ่งนอนขดอยู่บนแอ่งต้นไม้...หลับสนิท ไม่สนใจใครเลย สุวรรณบอกว่า เขาคือ งูแมวเซา ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีพิษมาก นักเดินป่าก็ต้องระวังเหมือนกัน...พลาดมาก็เป็นเรื่อง...ดูภาพของมันได้ ตามภาพด้านล่างนี้ ครับ
พวกเราออกแรงเทน้ำหนักลงไปตามที่ลาดชันของป่าดิบแล้ง คนที่ไม่ชำนาญและมีอายุมากอย่างผม(ครูคำมี)ก็ต้องเซฟต้วเองให้มากที่สุด ไม่มั่นใจทั้งมือและเท้าก็จะไม่ก้าวเดิน เมื่อกล่าวถึงพืชในป่าดิบแล้งเราพบพืชแปลกๆหลายชนิด ตัวอย่างเช่น เมื่อ ๒ ปีที่แล้ว เราพบพืชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะแปลก คือมีขางอกออกมา เมื่อเลื้อยไปโดนพืชนิดอื่น จะฝังขา(เหมือนกิ้งกือ) ลงไปที่ไม้ชนิดนั้น เราขอเรียกว่า "พญาร้อยขา" วันนี้ เรามาพบที่นี่อีก แต่ดูค่อนข้างมีอายุมาก.แต่ยืนยันว่าเป็นชนิดเดียวกัน ..เราใช้เวลาสไลด์ตัวเองลงจากหน้าผาป่าดิบประมาณ ๑๐ นาที ก็ลงมาถึงพื้นราบซึ่งต้นปีนี้บรเวณนี้เกิดไฟป่าเผาผลาญกินบริเวณกว้าง แต่มาบัดนี้ไม่เหลือซากเถ้าถ่านสีดำให้เห็น ฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องทำให้ป่าคืนสีเขียวให้ตัวเองได้อย่างรวดเร็วและน่าอัศจรรย์ "อีโก่ย" หรือเถาองุ่นป่า ผลิยอดทอดเถาอวดสีสดเร้าใจให้เราอยากเก็บภาพไว้ พืชนิดนี้เริ่มหายากและมีแนวโน้มที่จะหายไปจากป่านี้ ดูภาพพืชประหลาดและ อีโก่ยตามภาพด้านล่างนี้
ไม้ในป่า มีการปรับตัวเพื่อขยายและรักษาพ้นธุ์ตามธรรมชาติ มีการงอกของเมล็ดทุกปี แต่ละปีเหลือรอดเพียง ๔-๕ เปอร์เซนต์ ก็ถือว่าประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์แล้ว...ภาพข้างล่างเป็นภาพ ลูก"มะค่า" กำลังงอกขึ้นใต้ร่มไม้แม่ของตัวเตนเอง...เราสำรวจดูพบว่ามีไม่น้อยกว่า ๕๐ ต้น....เฉกเช่นเดียวกันกับ พืชตระกูล "บุก" ที่กำลังทำหน้าที่เช่นเดียวกัน ดูภาพลูกมะค่าและ"อีบุก"ได้ตามภาพด้านล่าง ครับ...
ภาพซ้ายมือ เป็นเมล็ดของ "ต้นอีลอก" หนึ่งในพืชตระกูล"บุก" ชาวอีสานตั้งชื่อพืชง่ายๆ ที่ชื่ออีลอก ก็เพราะ พืชนิดนี้ มีเปลือกเป็นใยบางๆแต่เหนียวหุ้มอยู่ ถ้าลำต้นแก่ ก็ต้องลอกเปลือกหุ้มออก จึงนำมาปรุงอาหารได้เพราะต้อง"ลอกเปลือกออก"จึงชื่ออีลอก ชาวอีสานนิยมนำมาทำ"แกงคั่ว"มากกว่าอย่างอื่น และที่ขาดไม่ได้ในส่วนประกอบคือ "น้ำยางนาง"
เท่าที่ได้ศึกษามาทราบว่า พืชที่ใช้น้ำยางนางเป็นเครื่องปรุง จะมีสารพิษ ชื่อ "ไซนาไนต์" ผสมอยู่ในลำต้น มากบ้างน้อยบ้างตามแต่ละชนิดของพืช ก่อนปรุงต้องต้มให้สุกก่อนเพื่อฆ่าหรือละลายสารพิษออก และใช้น้ำยานางซึ่งเป็นน้ำยาเย็น เป็น"น้ำปรุง" ผู้บริโภคก็จะปลอดภัย และ ที่สำคัญ ก็คือได้แกงคั่วที่มีรสชาตที่แสนจะอร่อยมาก ภูมิปัญญาการบริโภคของคนอีสานโบราณเป็นสิ่งน่าชื่นชมและน่าเรียนรู้เพื่อสืบทอดไว้ให้คงอยู่นานแสนนาน พวกเราเดินต่อไปจากจุดที่พบต้น "อีโก่ย และ อีลอก" ประมาณ ๒๐ เมตร ก็ถึงลำธารเล็กๆ น้ำใสๆ ที่ไหลซึมมาจากอ่างเก็บน้ำด้านบน สัตว์ตัวแรกที่เราพบ คือ กบเล็ก ชนิดหนึ่ง "คุณสุวรรณ" บอกว่า ชื่อของมันคือ "โงด"...(สงสัยว่าใช่หรือเปล่า) ผิวหนังมันเกลี้ยงเกลา ไม่เป็นตะปุ่มตะป่ำเหมือน"กบหงอน"ที่พบที่"หลุบลิง" ดูภาพด้านล่าง ๒ ภาพ เป็นภาพ "กบโงด"
เท่าที่ได้ศึกษามาทราบว่า พืชที่ใช้น้ำยางนางเป็นเครื่องปรุง จะมีสารพิษ ชื่อ "ไซนาไนต์" ผสมอยู่ในลำต้น มากบ้างน้อยบ้างตามแต่ละชนิดของพืช ก่อนปรุงต้องต้มให้สุกก่อนเพื่อฆ่าหรือละลายสารพิษออก และใช้น้ำยานางซึ่งเป็นน้ำยาเย็น เป็น"น้ำปรุง" ผู้บริโภคก็จะปลอดภัย และ ที่สำคัญ ก็คือได้แกงคั่วที่มีรสชาตที่แสนจะอร่อยมาก ภูมิปัญญาการบริโภคของคนอีสานโบราณเป็นสิ่งน่าชื่นชมและน่าเรียนรู้เพื่อสืบทอดไว้ให้คงอยู่นานแสนนาน พวกเราเดินต่อไปจากจุดที่พบต้น "อีโก่ย และ อีลอก" ประมาณ ๒๐ เมตร ก็ถึงลำธารเล็กๆ น้ำใสๆ ที่ไหลซึมมาจากอ่างเก็บน้ำด้านบน สัตว์ตัวแรกที่เราพบ คือ กบเล็ก ชนิดหนึ่ง "คุณสุวรรณ" บอกว่า ชื่อของมันคือ "โงด"...(สงสัยว่าใช่หรือเปล่า) ผิวหนังมันเกลี้ยงเกลา ไม่เป็นตะปุ่มตะป่ำเหมือน"กบหงอน"ที่พบที่"หลุบลิง" ดูภาพด้านล่าง ๒ ภาพ เป็นภาพ "กบโงด"
คุณสุวรรณ กับ คุณสัมพันธ์ มุดเข้าไปในดงไผ่เพื่อหาหน่อไม้ เราก็เดินชมธารน้ำและดงบอน ด้านข้างตามไปเรื่อยๆ...เราได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าก่อนสร้างอ่างเก็บน้ำด้านบน จะมีน้ำตรงนี้น้อยมาก หากแล้งจัดติดต่อกันนานๆในหน้าแล้งก็ถึงกับแห้งขอด เลยที่เดียว แต่ปีนี้ ความชุ่มชื้นและบึงเล็กในหน้าแล้งเกิดขึ้นเพราะผลพวงของการสร้างอ่างเก็บน้ำเขาสวนกวาง...ต้องยกความดีให้ผู้มีส่วนในการผลักดันและสนับสนุนการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแห่งนี้เป็นอย่างมาก...หลังจากบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว...คือลำบอนที่แสนอวบ หน่อไม้ที่อ่อนสด ใบยานางสีเขียวเข้ม และ ยอดชะอมที่หอมกรุ่นเพราะความสด เราก็เตรียมเดินกลับขึ้นด้านบน แดดเปรี้ยงๆ ยามบ่ายร้อนเอาการทีเดียว...ภาพสุดท้ายจากบึงบอน ขอเสนอภาพที่คุณสุวรรณโผล่ออกมาจากกอไผ่ มาเต๊ะท่าให้ถ่ายรูป หน้า"ดงบอน" ครับ
การปีนหน้าผาขึ้นไปด้านบน ไม่ใช่ง่ายๆ และสะดวกสบาย เหนื่อยครับ เหนื่อยมาก ระหว่างทางผมขอหยุดพักเล็กๆ ถึงสองครั้ง ดูสภาพการปีนป่ายของสมาชิกจากภาพด้านล่าง คนนำหน้าถือมีดโต้ คนตามหลัง หาบสิ่งของ ข้างหน้าเป็นก้อนหินที่วางระเกะระกะเต็มไปหมด...ต้องก้าวเท้าหลบหลีกไปเรื่อยๆ ในระหว่างทางเราโชคดี ที่พบ "กิ้งกือป้อม" คือกิ้งกือลำตัวสั้นๆชนิดหนึ่ง เมื่อโดนสัมผัส มันจะหดงอตัวกลมดิก เหมือน"ลูกแก้ว" เราน่าจะตั้งชื่อมันว่า "กิ้งกือลูกแก้ว" คราวก่อนเราพบและถ่ายรูปขึ้นเน็ตไปแล้วในบทความ ผู้ชมให้คอมเมนท์ว่า น่าจะเห็นภาพที่มันยืดตัวเต็มที่ ที่ว่าโชคดีก็ตรงนี้แหละคุณติ่งพบมันกำลังเลื้อยอยู่พอดี เรา(ครูคำมี)ก็เลยยื่นกล้องให้"สุวรรณ" กดชัตเตอร์ เก็บภาพชัดๆมาให้ดู...ฝีมือลูกหาบเราแท้ๆ เชิญดูได้เลยครับ...น่ารักมิใช่เล่น
ก็ต้องขออำลาด้วยภาพ"กิ้งกือก้อม" นี้แหละครับ เราใช้เวลาปีผน้าผาขึ้นมาประมาณ ๑๕ นาที ก็ถึงหลังคาภูเขา ขณะนั้น นาฬิกาที่ข้อมือ บอกเวลา บ่ายสองเกือบครึ่ง อาหารทุกอย่างยังไม่ถูกปรุง ก็หมายความว่าเรายังไม่ได้กินข้าวเที่ยง...เรา ๓ คนบึ่ง"มอไซต์" ไปสมทบกับคนที่หลังแปเพื่อแกงบอนที่เราตั้งใจไว้... "แกงบอน"วันนั้น อร่อยที่สุด...เพราะเรากินข้าวเที่ยงตามสูตรของ"เซียงเหมี่ยง"...กินเสร็จบ่ายสามพอดี...เรื่องราวของเส้นทางสู่บึงบอนก็จบลงเพียงเท่านี้พบกันใหม่ คราวหน้า สวัสดีครับ
"ครูคำมี"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น